การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)

การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชน

การเรียนรู้ทางวิชาชีพ  (Professional  Learning  Community : PLC)

ผู้วิจัย           นางสาวกุสุมา  ดาวประสงค์

ปีที่ศึกษา       2562

บทคัดย่อ

 

การวิจัยพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ  1)  ศึกษาสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  2)  พัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  และ  3)  ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  เป็นการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา  (Research  and  Development : R&D)  และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  (Participatory  Action  Research : PAR)  กลุ่มผู้ให้ข้อมูล  คือ  ผู้ทรงคุณวุฒิ  ผู้บริหารสถานศึกษา  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ครูและบุคลากร  ผู้ปกครองและนักเรียน  เครื่องมือที่ใช้  คือ  แบบสัมภาษณ์  แบบสนทนากลุ่ม  แบบสอบถาม  และแบบประเมิน  สถิติที่ใช้  คือ  ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1.  สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  พบว่า  โรงเรียนยังขาดเป้าหมายในการพัฒนาทักษะการคิดร่วมกัน  การจัดทำหลักสูตรขาดการบูรณาการทักษะการคิด  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เน้นทักษะการคิด  ครูขาดการกระตุ้นกระบวนการคิดให้กับนักเรียน  และการวัดและประเมินผลเน้นความรู้ความเข้าใจมากกว่าการเน้นกระบวนการคิด  จากการวิเคราะห์ปัญหาร่วมกัน  ประเด็นที่ต้องการพัฒนามากที่สุด  คือ  ปัญหาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดและการดำเนินการวัดและประเมินผลที่เน้นทักษะการคิด  โดยการใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเป็นฐานในการพัฒนา
  2. 2. การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  โดยนำผลจากการศึกษาสภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการ  การบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาเป็นกรอบในการร่างรูปแบบ  มีองค์ประกอบหลัก  คือ  1)  การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  7  ขั้นตอน  ประกอบด้วย  วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดความต้องการ  การสร้างความตระหนักและความคิดริเริ่ม  การจัดทำรูปแบบ  การปฏิบัติตามและปรับปรุงพัฒนา  การนำรูปแบบไปใช้  การติดตามและประเมินผล  และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายผล  2)  องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  มี  4  องค์ประกอบ  ประกอบด้วย  การกำหนดเป้าหมายร่วมกันเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  การจัดทำหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาทักษะการคิด  และการวัดและประเมินเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  3)  องค์ประกอบของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  มี  6  องค์ประกอบ  ประกอบด้วย  กำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายร่วมกัน  ภาวะผู้นำร่วม  ทีมร่วมแรงร่วมใจ  เรียนรู้ร่วมและพัฒนาวิชาชีพ  ชุมชนกัลยาณมิตร   และการบริหารจัดการชุมชนที่ดี  โดยผ่านผู้เชี่ยวชาญ  5  ท่าน  ประเมินความเหมาะสม  ความเป็นไปได้  ความถูกต้องและความเป็นประโยชน์  อยู่ในระดับมากที่สุด
  3.   ผลการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบัวงามวิทยา  พบว่า  1)  ผลการประเมินการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่สะท้อนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพทั้งการประเมินตนเองและบุคคลภายนอก  อยู่ในระดับมากที่สุด  2)  ผลการประเมินการดำเนินงานตามองค์ประกอบที่สะท้อนการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  ทั้งการประเมินตนเองและบุคคลภายนอก  อยู่ในระดับมาก  และ  3)  ผู้บริหารสถานศึกษา  ครูและบุคลากร  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผู้ปกครองและนักเรียนของโรงเรียนบัวงานวิทยา  มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด  โดยใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ  มีความเหมาะสม  ความเป็นไปได้  ความถูกต้องและความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด  และสามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้จริง

About นายวรพงศ์ สุโพธิ์

Check Also

การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ เรื่องพระพุทธศาสนา ส

ชื่อเรื่อง      …

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์ทวีปยุโรปที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (7Es)

ชื่อเรื่อง      …

รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

งานวิจัยเรื่อง …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *