งานวิจัยเรื่อง รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเรียนออนไลน์ เรื่อง ปฏิสัมพันธ์ ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวพิชญาภา ทองเนตร์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูช านาญการพิเศษ หน่วยงาน โรงเรียนบัวงามวิทยา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี ปีที่จัดทำ[Download not found] 2563 บทคัดย่อ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพบทเรียนออนไลน์เรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบ สุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนเรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี ต่อบทเรียนออนไลน์เรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนบัวงามวิทยา อ าเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จ านวน 30 คน โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ บทเรียนออนไลน์เรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบ สุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ส าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้ทดสอบนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนออนไลน์ เป็น ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จ านวน 1 ฉบับ มี 40 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนส าหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ใช้ทดสอบนักเรียน ในหน่วยย่อยจ านวน 5 หน่วยๆ ละ10 ข้อ แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์ จ านวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ ได้แก่ หาค่าสถิติพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนที่ได้จากการท าแบบทดสอบในบทเรียนออนไลน์ แต่ละตอน คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน และคะแนนประเมินบทเรียนออนไลน์ของผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษา 1. บทเรียนออนไลน์เรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มี ประสิทธิภาพร้อยละ 96.00 2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนออนไลน์เรื่องปฏิสัมพันธ์ในระบบสุริยะและเทคโนโลยีอวกาศ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 อย่างมีนัยส าคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยใช้บทเรียนออนไลน์อยู่ในระดับความ พึงพอใจโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด เรียงล าดับตามคะแนนเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือการจัดแบ่ง หน่วยการเรียนรู้มีความเหมาะสม การใช้บทเรียนออนไลน์ช่วยแก้ปัญหาการเรียนไม่ทันเพื่อนได้ การทบทวน เนื้อหาสามารถท าได้เองตามความต้องการตลอดเวลา โครงสร้างเนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงค์ของบทเรียน มีการทดสอบระหว่างเรียนเป็นระยะ บทเรียนออนไลน์ช่วยท าให้นักเรียนเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนมากยิ่งขึ้น นักเรียนเป็นผู้ก าหนดเวลาในการใช้งานบทเรียนออนไลน์ด้วยตัวเอง ใช้เวลาในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาทั้งหมด น้อยกว่าการเรียนการสอนแบบปกติ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ าสุดคือ การแจ้งรายงานผลการทดสอบก่อนเรียนหลังเรียน และหน่วยย่อย แต่ก็ยังเป็นข้อคิดเห็นที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก